ไม่ว่าคุณจะเป็นเด็กจบใหม่
จบเก่า หรือจบมานานแล้ว เมื่อถึงเวลาที่ต้องเริ่มงานใหม่ ใคร ๆ ก็ตื่นเต้นด้วยกันทั้งนั้น
การสมัครหรือสัมภาษณ์งานก็เช่นกัน บางคนสนใจอยากหางานในกทม. แต่ก็อาจยังจะงง ๆ
ว่าต้องเริ่มต้นที่ตรงไหนยังไงดีน้า
หยุดความกังวลของคุณไว้เท่านี้
วันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ มานำเสนอ เพื่อพลิกวิกฤตเป็นโอกาส
เปลี่ยนความตื่นเต้นให้เป็นแรงผลักดัน หาข้อมูลเตรียมพร้อม เพื่อพัฒนาศักยภาพ
เตรียมตัวให้พร้อมหางาน ที่ไม่ว่างานไหน ๆ
ก็พร้อมรับมือได้ทุกสถานการณ์อย่างแน่นอน
เตรียมตัวยังไงให้พร้อมหางานในกรุงเทพ
คนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่าเพียงแค่มีความสามารถส่วนตัว
หรือความสามารถพิเศษเฉพาะในสายงานของตัวเองก็อาจจะเพียงพอแล้ว
แต่ในความเป็นจริงการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการสมัครงาน หรือการสัมภาษณ์งาน
ประสบการณ์และความชำนาญก็ถือว่าเป็นสื่งสำคัญ จะทำยังไงไม่ให้พลาดโอกาสในการสมัครงานดี
ๆ ในอนาคต วันนี้เรามีคำตอบมาให้คุณเเล้ว อย่ารอช้าไปเช็คกันเลย!
1.เตรียมตัวให้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
- สำรวจความสนใจตัวเองก่อนสมัครงาน
ควรรู้ตัวเองว่าชอบหรือไม่ชอบงานลักษณะใด เมื่อทราบแล้วก็จะได้รู้ว่างานใดที่เราต้องการจะสมัครจริง
ๆ
- ประสบการณ์การทำงาน ความสามารถส่วนตัว
ความสามารถพิเศษต่าง ๆ ควรเตรียมไปให้ครบ ส่วนนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการตัดสินใจในการรับเข้าทำงานได้เลย
เพราะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเข้ากับตำแหน่งงานไหมนั่นเอง
- บุคลิก
การแต่งตัวมีผลกับงานที่เลือก เตรียมตัวให้ดี เลือกให้เหมาะกับงานที่สนใจจะทำ เนื่องจากการแต่งตัวก็ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพ
และอาจช่วยสร้างความประทับใจแรกได้อีกด้วย
- ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ในยุคปัจจุบันถือเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะการใช้งาน PC หรือ Software พื้นฐานต่าง ๆ เช่น Word Excel หรือโปรแกรมพื้นฐานตามสายงานต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็นควรเตรียมไว้
2.ศึกษาแหล่งข้อมูลการสมัครงาน
- สามารถเข้าร่วมอีเว้นท์ต่าง ๆ ได้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งการเปิดสัมมนา หรือการรวมตัวจากบริษัทต่าง
ๆ เพื่อเพิ่มช่องทางในการหางานที่มากขึ้น
- การสอบถามจากคนใกล้ตัว
เพื่อน พี่ น้อง หรือญาติ หากมีตำแหน่งงานที่น่าสนใจ
ก็สามารถสอบถามจากบุคคลที่เรารู้จักได้อีกช่องทาง
- หน่วยงานของรัฐ
กรมการจัดหางาน สามารถติดต่อได้โดยตรงที่สำนักจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่
1 – 10 ตามพื้นที่ที่สะดวก
ซึ่งแต่ละสำนักงานจะมีการประกาศตำแหน่งงานว่างอยู่เสมอ เพื่อให้ไม่พลาดข่าวสาร ทางเราแนะนำให้ติดตามข่าวสารตามช่องทางต่าง ๆ
ที่แต่ละหน่วยประกาศไว้อย่างใกล้ชิด
- สำนักงานจัดหางานเอกชน
ซึ่งสามารถพบเห็นได้มากในปัจจุบัน
และแนะนำให้ตรวจสอบข้อมูลก่อนตัดสินใจ
ว่าหน่วยงานเราสนใจนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ เพื่อป้องกันการได้รับข้อมูลไม่จริงนั่นเอง
- การประกาศจากสื่อต่าง
ๆ เช่นทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะ เว็บหางานและสื่อโซเชียล ที่น่าจับตามอง ถือเป็นแหล่งหางานยอดนิยมในปัจจุบัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นช่องทางไหนก็ตาม ต้องมีการตรวจเช็คให้มั่นใจก่อนสมัครกันด้วยนะคะ
3.รู้ข้อมูลหน่วยงานที่สนใจก่อนการสมัครงาน
เมื่อมีความสนใจในงานใดงานหนึ่ง
หรือบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ผู้สมัครงานควรจะต้องรู้ว่าบริษัทนั้น ๆ
ดำเนินธุรกิจประเภทใด เช่น ก่อนการสมัครงานแต่ละครั้ง
เราก็ควรจะต้องรู้ว่างานที่จะทำคืออะไร เป็นบริษัทประเภทไหน อุตสาหกรรม บริการ
หรือค้าขาย ผลผลิตของบริษัทนั้น ๆ คืออะไร เช่น การเงิน การธนาคาร
งานระบบคอมพิวเตอร์ หรือขายเครื่องใช้ไฟฟา
และต้องรู้ตำแหน่งงานที่จะสมัครว่ามีลักษณะงานอย่างไร
ต้องทำงานสัมพันธ์กับหน่วยไหน
อึกทั้งเรื่องสถานที่ตั้งของบริษัทนั้นมีการเดินทางเป็นอย่างไร
สวัสดิการเป็นที่พึงพอใจไหม รวมถึงค่าตอบแทนตามตำแหน่งงาน เงินเดือน โบนัส
คอมมิชชั่น เรื่องเหล่านี้เราควรที่จะทำความเข้าใจตั้งแต่แรก
เพราะถ้าหากมีปัญหาก็จะได้พูดคุยหรือสอบถามได้ แต่ถ้าใช่ก็ลุยได้เลย!
4.เอกสารที่ต้องใช้สมัครงาน
- จดหมายสมัครงาน ไม่ควรจะเขียนเป็นข้อความยืดยาว เเละควรจะเป็นข้อความที่ชัดเจน แสดงถึงจุดประสงค์ที่ต้องการสมัครงาน
- ประวัติส่วนตัว
(RESUME) เป็นการแนะนำตัวโดยสรุปให้เป็นที่รู้จัก
เน้นแต่ส่วนที่เกี่ยวข้องหรือข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ในการสมัครงาน
- รูปถ่าย ไม่ว่าจะขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว เพื่อให้ไม่พลาด ควรเตรียมไปให้พร้อมทุกขนาด เพราะแต่ละบริษัทกำหนดขนาดรูปที่ไม่เหมือนกัน
- ใบผลการศึกษาหรือใบเกรดแสดงผลการเรียน
เอกสารนี้เป็นเอกสารสำคัญ
เพื่อแสดงให้รู้ว่าเรียนจบมาทางด้านไหน เรียนวิชาอะไรมา
ไม่ว่าจะเพิ่งจบใหม่ หรือคนที่เคยผ่านงานมาแล้ว เอกสารนี้ก็ยังเป็นเอกสารจำเป็น ดังนั้นควรเก็บต้นฉบับให้ดีป้องกันไม่ให้สูญหาย
เพราะในอนาคตหากมีการสมัครงานเอกสารนี้ก็ยังต้องใช้ประกอบการยื่นใบสมัครอีกด้วย
- หนังสือรับรองการฝึกงาน
การผ่านงานในอดีต หากเคยมีประสบการณ์ผ่านการฝึกงาน รวมถึงประสบการณ์ทำงานก็ควรจะใส่ไปด้วย
เพราะอาจเป็นประโยชน์สำหรับการสมัครงานก็เป็นได้
- สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ควรเตรียมไปเผื่อ 2 – 3 ฉบับ
หากต้องใช้เพิ่มจะได้หยิบมาใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องไปขอถ่ายสำเนา และแสดงความพร้อมในการทำงานของเรา
- เอกสารอื่น ๆ
ถ้ามี อย่างเช่น สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล ,สำเนาใบผ่านการเกณฑ์ทหาร(ถ้ามี),สำเนาใบขับขี่
(กรณีสมัครงานที่เกี่ยวกับการขับรถหรือที่ทางบริษัทกำหนด) ก็ควรเตรียมมาเช่นกัน
แนะนำว่าควรเชคให้แน่ใจทุกครั้งก่อนการสมัครงานว่าทางบริษัทต้องการเอกสารอะไร
เตรียมไปเผื่อเพื่อป้องกันการตกหล่น และอย่าลืมเซ็นสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย
เพื่อความสะดวกและรวดเร็วหน้างาน
สำรวจเส้นทาง กทม. ก่อนการเดินทาง
ก่อนวันสัมภาษณ์ควรตรวจสอบสถานที่ให้แน่ใจ
ศึกษาเส้นทางและวิธีการเดินทาง เผื่อเวลา
ทางที่ดีในวันสัมภาษณ์ควรไปก่อนเวลาประมาณ 15 - 30 นาที
เพื่อไปเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสัมภาษณ์ แต่หากมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น
ทำให้ไม่สามารถไปได้ทันเวลาหรือมีเหตุฉุกเฉินแล้วละก็
ควรรีบโทรแจ้งทางบริษัทที่พร้อมทั้งอธิบายเหตุผล และทำการนัดหมายกันอีกรอบนั่นเอง
เตรียมการ - รับมือ บทสัมภาษณ์เพื่อให้ได้งานในกทม.
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของคนส่วนใหญ่นั้นคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าคำถามที่เจอ
ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัวคุณ เช่น การให้แนะนำตัว เล่าประวัติการทำงาน
งานอดิเรก ความสามารถในการจัดการงาน รวมถึงความเข้าใจในตำแหน่ง
และองค์กรก่อนตัดสินใจสมัครงาน สิ่งเหล่านี้คุณควรฝึกซ้อม
ค้นหาข้อมูลล่วงหน้ามาก่อน เพื่อพร้อมรับมือกับการสัมภาษณ์งาน เท่านี้งานดี ๆ
ที่คุณต้องการก็จะไม่ไกลเกินฝัน เตรียมตัวนับหนึ่งเริ่มงานใหม่กันได้เลย!